เมนู

ฉะนั้น ความไม่ยินดีจึงหาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญาได้ไม่. บทว่า ธีโร หิ อรตึสโห
ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีได้ ชื่อว่า ผู้มีปัญญา เพราะ
ข่มความไม่ยินดีได้ ฉะนั้น เธอจึงข่มความไม่ยินดีได้. บทว่า สพฺพกมฺม-
วิหายินํ
ความว่า ภิกษุผู้สละกรรมเป็นไปในภูมิสามทั้งปวงแล้ว คือ ตัดขาด
ทางรอบด้านแล้ว . บทว่า ปนุณฺณํ โก นิวารเย ความว่า ราคะก็ดี
โทสะก็ดี อะไรเล่าจะมาขัดขวางผู้บรรเทากิเลสทั้งหลายได้แล้ว. บทว่า เนกฺขํ
ชมฺโพนทสฺเสว โก นํ นินฺทิตุมรหติ
ความว่า ใครเล่าจะติบุคคลนั้น
ผู้หลุดพ้นจากโทษที่จะพึงติ ดุจแท่งทองคำธรรมชาติที่เรียกว่า ชมพูนุท.
บทว่า พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต ความว่า ถึงพรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น.
เวลาจบเทศนา ภิกษุสี่หมื่นรูปก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต.
จบอรรถกถาอริยวังสสูตรที่ 8

9. ธัมมปทสูตร


ว่าด้วยธรรมบทที่บัณฑิตสรรเสริญ 4


[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท (ข้อธรรม) 4 ข้อนี้ปรากฏ
ว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว
ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล)
จักไม่ถูกทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้าน
แล้ว ธรรมบท 4 ข้อ คืออะไรบ้าง คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ
นี้แลธรรมบท 4 ข้อ ที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ
สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.